โรคปอดบวมส่วนใหญ่แล้วเกิดได้จากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ไมโครพาสมา (เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา, สารเคมี ซึ่งน้อยมาก)
อาการโรคปอดบวม
- หายใจลำบาก
- มีไข้ หรือตัวอุ่นๆ
- รู้สึกไม่สบายตัว ซึม
- อาการเหมือนคนเป็นหวัด หรือไข้หวัด เช่น เจ็บคอ หนาวสั่น ปวดศีรษะ
- ไอแห้งๆ ถี่ๆ
- หายใจเร็ว มีเสียงหวีด
- ปวดท้อง
- เจ็บหน้าอก
- อาเจียน
- มีเสมหะปนเลือด หรือมีสีเขียวหรือสีสนิม
- ไม่ยอมกินนม และเบื่ออาหาร
เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ
หากลูกมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นปอดบวม คือ มีไข้ ไอ เจ็บหน้าอก และเหนื่อยง่าย ควรรีบพบแพทย์ ภายใน 1-2 วัน เพื่อรับการวินิจฉัย ไม่ควรดูแลตนเอง
การรักษาโรคปอดบวม
โรคปอดบวมรักษาโดย แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่ปอดบวมเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ตามกำหนดเวลา เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งยาอื่นๆ ตามอาการ ได้แก่
- ยาละลายเสมหะ ที่จะช่วยให้ขับของเหลวในปอด
- ยาลดไข้ เช่น ibuprofen และ acetaminophen โดยหลีกเลี่ยงการให้ยาแอสไพรินในเด็ก เพราะมันอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการเรย์ Reye’s syndrome ได้
- ยาบ่นขยายหลอดลม
- กายภาพบำบัดทรวงอก
- การให้ออกซิเจนเสริม
เด็กควรรับการรักษาในตัวโรงพยาบาลเมื่อมีอาการต่อไปนี้
- อายุน้อยกว่า 2 เดือน
- หายใจลำบาก
- มีอาการขาดน้ำ
- ออกซิเจนในเลือดต่ำ
- อุณหภูมิร่างกายสูง หรือต่ำกว่าปกติ
- ไม่มีแพทย์วินิจฉัยว่า อาจมีแนวโน้มที่จะมีอาการแย่ลง
การป้องกันโรคปอดบวม
- ล้างมือบ่อยๆ อย่างถูกวิธี
- เวลาที่มีอาการไอ หรือจาม ควรใช้ทิชชู่ หรือผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก
- สวม Mark เมื่อมีอาการไอ,จาม และมีน้ำมูก
- หลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำ จานชาม และสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
- ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ ตามกำหนด
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกให้แข็งแรง โดยการนอนหลับอย่างเพียงพอ ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบ 5 หมู่