โรคไส้เลื่อน (Hernia)

โรคไส้เลื่อน (Hernia)

โรคไส้เลื่อน

สาเหตุ

โรคไส้เลื่อน หมายถึง ภาวะที่ลำไส้เลื่อนออกนอกช่องท้องผ่านผนังช่องท้องที่บอบบาง ตำแหน่งที่ลำไส้จะเลื่อนออกนอกช่องท้องมีหลายแห่ง เช่น บริเวณขาหนีบ(Groin Hernia) ผนังหน้าท้อง(Abdominal Hernia) สะดือ(Umbilical Hernia) และ รอยแผลผ่าตัด(Incisional Hernia) เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนก็คือ ‘ผนังหน้าท้อง’ ขาดความแข็งแรง

  • ผิดปกติตั้งแต่เกิด บางคนมีช่องทางระหว่างช่องท้องกับลูกอัณฑะกล้ามเนื้อหน้าท้องบางตัว หรือมีความอ่อนแอของผนังหน้าท้องตั้งแต่เกิด
  • การเสื่อมลงตามอายุของกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง
  • อุบัติเหตุที่หน้าท้อง
  • แรงดันในช่องท้องสูง จากการยกของหนัก ไอบ่อย เบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นประจำ ทำให้เกิดความอ่อนแอของผนังหน้าท้องมากขึ้นอย่างช้าๆ
  • หลังการผ่าตัดช่องท้อง เนื้อเยื่อที่ถูกผ่าจะขาดความยืดหยุ่นและเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของหน้าท้อง หากช่วงพักฟื้นเกิดเหตุแทรกซ้อนกับแผล ก็จะทำให้เกิดไส้เลื่อนที่แผลผ่าตัดได้มากขึ้น

อาการของไส้เลื่อน

  • มีก้อนนูน สามารถผลุบเข้าออกได้บริเวณผนังหน้าท้อง หรือบริเวณขาหนีบ
  • รู้สึกปวดหน่วงๆ ตรงบริเวณที่เป็นโรค โดยเฉพาะเวลายกของหนัก ไอ จาม เบ่งถ่ายอุจจาระ เดินหรือยืนนานๆ

ทางเลือกในการรักษา

  • ในบางรายที่มารพ.ด้วยก้อนมีขนาดโตขึ้นและเจ็บปวด ในเบื้องต้นแพทย์จะให้ยาลดปวดและจัดท่าเพื่อดันไส้เลื่อนกลับเข้าไป
  • ผ่าตัด มี 2 วิธี

การผ่าตัดไส้เลื่อนแบบมาตรฐาน (แบบเดิม)

การผ่าตัดแบบมาตรฐานมีหลักการที่จะเข้าไปผูกตัดถุงที่ยื่นออกมา จากนั้นก็ทำการเย็บซ่อมผนังหน้าท้องส่วนที่อ่อนแอให้แข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การเย็บซ่อมอาจดึงเนื้อเยื่อข้างเคียงเข้าหากัน ซึ่งวิธีนี้ทำได้ง่าย แต่เนื้อเยื่อที่ถูกเย็บเข้ามาหากันจะตึงมาก ผู้ป่วยมักมีความเจ็บปวดหลังผ่าตัด กลับไปทำงานเดินตัวตรงตามปกติได้ช้า

การผ่าตัดไส้เลื่อนแบบใช้กล้องส่อง

 

1

 

เป็นการผ่าตัดเพื่อทำการซ่อมหน้าท้องด้วยกล้องส่อง โดยการเจาะรูขนาดเล็กๆบริเวณผนังหน้าท้องเพื่อเข้าไปซ่อมไส้เลื่อนจากด้านใน และเสริมแผ่นความแข็งแรงบริเวณที่เป็น  โดยมากจะมีแผลขนาดเล็ก 3 แผล โดยแผลที่สะดือที่จะใส่กล้องยาว 1 ซม. และแผลที่ใส่เครื่องมือยาว 0.5 ซม. จากนั้นก็ทำการเลาะด้านหลังของผนังช่องท้องซึ่งจะมองเห็นรูไส้เลื่อนจากทางด้านหลังได้อย่างชัดเจน  แล้วใช้แผ่นตะแกรงสังเคราะห์ปูคลุมกล้ามเนื้อ ตรึงด้วยหมุดเย็บ 3-4 ตัว

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไส้เลื่อน

  • ภาวะที่ล้าไส้เคลื่อนออกมาและไม่สามารถดันกลับไปในช่องท้องได้(Incarcerated hernia) *
  • ภาวะที่ล้าไส้เคลื่อนลงมาในรูเปิด แล้วเกิดการบิดตัวท้าให้ล้าไส้ขาดเลือดไปเลี้ยงและเกิดล้าไส้เน่า (Strangulated hernia) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรง ปวดบิดๆ คลื่นไส้อาเจียนบางรายอาจมีภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • ภาวะล้าไส้อุดตัน (Bowel obstruction) เกิดเมื่ออาหารหรืออุจจาระไม่สามารถเคลื่อนผ่านล้าไส้ไปได้ ผู้ป่วยจะปวดท้องมวนๆ คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืดไม่ผายลม

ปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เป็นโรค

  • ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้เลื่อนแล้วและอยู่ในระหว่างรอรับการผ่าตัดรักษา

– หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

-ไม่เบ่งถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ

– การใส่อุปกรณ์หรือกางเกงที่ช่วยกระชับไม่ให้ไส้เลื่อนโป่งตุงออกมา

  • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนแล้วต้องระวังไม่ให้ไส้เลื่อนกลับมาเป็นอีก

-ลดน้ำหนัก ในผู้ที่มีโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน

-หลีกเลี่ยงการยกของหนัก 1-2 เดือนแรกหลังผ่าตัด
-รับประทานอาหารที่มีกากใยเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก

  • หลังผ่าตัดควรสังเกตอาการผิดปกติเช่น เลือดออกบริเวณแผลผ่าตัด หรือมีรอยบวมแดงร้อนรอบแผลผ่าตัดและปวดหากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 076-361888 ต่อ 5336

หรือ คลิก !!  ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง