ไข้หวัดใหญ่
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Influenza Virus) ซึ่งทำให้เกิดโรคกับระบบทางเดินหายใจ แต่มีความแตกต่างจากไวรัสทางเดินหายใจอื่นๆ เนื่องจากไข้หวัดใหญ่มีอาการรุนแรง และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน และผู้ที่มีความต้านทานร่างกายไม่แข็งแรง ทั้งนี้โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่มีการระบาดอย่างกว้างขวางเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่มีผู้คนส่วนใหญ่ทำงานในอาคารปิดใช้ระบบหมุนเวียนอากาศร่วมกัน การเดินทางอาศัยระบบการขนส่งมวลชนที่ผู้คนแออัด ตลอดจนการเดินทางระหว่างประเทศรวดเร็วขึ้นเป็นผลทำให้เกิดการระบาดของโรคโดยง่ายและรวดเร็ว
อาการของไข้หวัดใหญ่
จะมีอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้ , ปวดศีรษะ, ปวดเมื่อยตัว, เหนื่อย, ไอแห้ง ๆ, เจ็บคอ, มีน้ำมูก ในเด็กอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้
ช่วงเวลาที่เกิดโรค
- มีโอกาสในการเกิดโรคได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝน
การติดต่อ
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่จะติดต่อผ่านเสมหะของผู้ป่วย โดยการไอหรือจาม แล้วเข้าสู่ปากและจมูกของผู้ใกล้ชิด (ส่วนใหญ่ในระยะ 3 ฟุต) ส่วนน้อยเกิดจากการสัมผัสกับเสมหะของผู้ป่วยที่ติดกับสิ่งของเครื่องใช้แล้วมือที่สัมผัสเชื้อมาสัมผัสที่ปากหรือจมูกจะเกิดโรคได้เช่นกัน
- ผู้ป่วยจะเกิดอาการหลังสัมผัสเชื้อโรคประมาณ 1 – 4 วัน
- ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อก่อนมีอาการ 1 วัน และ 5 วันหลังมีอาการป่วย
วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังนี้
- การฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันโรคที่ดีที่สุด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยและเสมหะของผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสจมูก ตา ปาก ของตัวเองหลังสัมผัสกับผู้ป่วย
- เมื่อมีกาการที่สงสัยไข้หวัดใหญ่ ควรอยู่ห่างจากผู้อื่น ปิดปาก จมูก เวลาไอหรือจาม
ใครบ้างที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง, โรคหอบหืด, โรคเบาหวาน , โรคไต , โรคหัวใจ , โรคตับ , โรคเอดส์
- สมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคดังกล่าว
- หญิงตั้งครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป
** ทั้งนี้ควรฉีดวัคซีนก่อนที่จะมีการระบาดของโรค และควรฉีดวัคซีนช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายนของทุกปี โดยร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคหลังฉีดวัคซีนประมาณ 2 สัปดาห์
จำเป็นต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปีหรือไม่ ?
เนื่องจากวัคซีนจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 1 ปีเท่านั้น และการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่จะเปลี่ยนสายพันธุ์ได้บ่อย วันซีนที่ผลิตแต่ละปีจะเป็นวันซีนเฉพาะสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในปีนั้นเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง ทั้งนี้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จะได้ผลในการป้องกันโรคประมาณ 70-90 % แต่ในผู้สูงอายุการตอบสนองต่อวัคซีนจะน้อยลง เนื่องจากความต้านทานของร่างกายน้อยกว่าปกติ แต่ยังมีประโยชน์ในการลดภาวะแทรกซ้อน โอกาสที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และการเสียชีวิต
อาการแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่
- หลังเกิดอาการของไข้หวัดใหญ่ ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย,ภาวะขาดน้ำ และทำให้โรคประจำตัวที่เป็นอยู่แย่ลง เช่น ภาวะหัวใจวาย, หอบหืด,เบาหวาน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเสียชีวิตได้
การปฏิบัติตัวก่อน-หลัง เมื่อเป็นโรคไข้หวัดใหญ่
- ให้ดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรืออาจดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย แต่ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว เพราะจะทำให้ขาดเกลือแร่ได้
- ลดไข้ด้วยยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล
- สำหรับท่านที่มีอาการคัดจมูก อาจทำวิธีง่าย ๆ คือ ต้มน้ำร้อนแล้วให้นั่ งหน้ากาน้ำเอาผ้าคลุมศีรษะ และสูดดมไอน้ำ อาจจะใส่ขิงลงไปเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก
- ให้ล้างมือบ่อย ๆ เมื่อออกนอกบ้าน ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ ให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ ลูกบิดประต
- เวลาไอหรือ จามให้ใช้ผ้าเช็ด หน้าหรือทิชชู ปิดปากจมูก