โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร และต่างกันยังไงนะ
ร่างกายของเรามีจุลินทรีย์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ และให้โทษต่อร่างกาย โดยจุลินทรีย์ที่คุ้นหูและถูกกล่าวถึงบ่อย ๆ ได้แก่ “โพรไบโอติกส์” และ “พรีไบโอติกส์” ซึ่งแตกต่างกัน ดังนี้
โพรไบโอติกส์
เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดดี ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่น ๆ ของร่างกายเมื่อมีจุลินทรีย์อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม บางครั้งเรียกว่า “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต” มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง ช่วยผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้ ดังนั้น “โพรไบโอติกส์” จึงช่วยทำให้เกิดความสมดุลทั้งระบบของร่างกายนั่นเอง
บทบาทของพรีไบโอติกส์
- สร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค หรือ “เชื้อฉวยโอกาส”
- กระตุ้นระบบการย่อยอาหารโดยการสร้างเอนไซม์หลายชนิด
- ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป
- เหนี่ยวนำ และกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน
พรีไบโอติกส์
เป็นอาหารของจุลินทรีย์โพรไบโอติก เป็นสิ่งไม่มีชีวิตซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ แต่จะสามารถถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของโพรไอโอติกส์ โดยพรีไบโอติกส์นี้ สามารถพบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น
“กล่าวง่าย ๆ คือ พรีไบโอติกส์เป็นอาหารของโพรไบโอติกส์นั่นเอง ดังนั้นหากรับประทานอาหารพวกพรีไบโอติกส์เยอะ ก็จะช่วยให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ทำงานได้ดียิ่งขึ้น เมื่อจุลินทรีย์ดีทำงาน (กำจัดจุลินทรีย์ก่อโรค) ได้ดี ร่างกายก็จะเกิดสุขภาวะที่ดี … ถึงเจ้าโพรไบโอติกส์จะเป็นจุลินทรีย์เล็กจิ๋ว แต่ช่วยสร้างสมดุลระบบร่างกายได้ดีเยี่ยม เรียกได้ว่า ‘จิ๋วแต่แจ๋ว’ จริง ๆ …”