ศูนย์สหสาขามะเร็งภูเก็ต

ศูนย์สหสาขามะเร็งภูเก็ต

ทำนัด

ศูนย์สหสาขามะเร็ง ให้การดูแลรักษาโรคมะเร็งแบบบูรณาการจากทีมบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง ตลอดจนทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ และโรงพยาบาลดีบุก ให้การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีชั้นสูง โดยให้ความสำคัญทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยจากการรักษาแบบครบทุกขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิตตลอดจนลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ โดยที่ผู้ป่วยสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและอย่างทันท่วงที

บริการของศูนย์

ให้บริการแก่ผู้รับบริการทุกเพศ อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในการดูแลผู้รับบริการที่มีปัญหาสุขภาพทางด้านโรคมะเร็ง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานโรงพยาบาล

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal Cancer)
  • มะเร็งระบบทางเดินอาหารและตับ (Gastrointestinal Cancer)
  • มะเร็งผิวหนัง (Skin Cancer)
  • มะเร็งปอดและทรวงอก (Lung and Thoracic Cancer)
  • มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ (Urological Cancer)
  • สตรีนรีเวชมะเร็งวิทยา (Gynecological Cancer)
  • มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

ก่อนปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ควรเตรียมตัวอย่างไร

การรักษาโรคมะเร็ง เป็นการรักษาเฉพาะบุคคล ถึงแม้จะมีแนวปฏิบัติที่อาจไม่แตกต่างกันมากนักในผู้ป่วยแต่ละราย แต่รายละเอียดปลีกย่อย อาจมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นการเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญการถือเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการตัดสินใจที่สำคัญ เช่นเดียวกับการตัดสินใจในเรื่องสำคัญอื่นๆคุณจึงควรเปิดโอกาสให้ตัวเองมีทางเลือกที่คิดว่าดีที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจ คำปรึกษาของแพทย์ชำนาญการจะสิ่งที่ช่วยยืนยันหรือช่วยให้ผู้ป่วยได้ทางเลือกใหม่ที่เหมาะสม เพื่อที่จะเดินหน้ารักษาต่อไปด้วยความมั่นใจมากขึ้น

ก่อนปรึกษาแพทย์ชำนาญการ ควรเตรียมตัวดังนี้

  • เตรียมข้อมูลการตรวจรักษาทั้งหมดเกี่ยวกับโรคที่ต้องการปรึกษา รวมถึงโรคประจำตัวอื่นๆให้พร้อมก่อนไปพบแพทย์
    • รายการเอกสารการรักษา เพื่อประกอบการเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญการ
      1. ข้อมูลดัชนีมวลกายของผู้ป่วย (อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก)
      2. เอกสารสรุปการรักษา/รายงานการรักษาจากโรงพยาบาลเดิมที่แพทย์ออกให้ (ถ้ามี)
      3. รายงานรังสีวิทยาล่าสุด เช่น ผล CT Scan, ผล MRI, ผล PET เป็นต้น (ถ้ามี)
      4. ผลการตรวจเลือดหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ถ้ามี)
      5. ผลลัพธ์ทางพยาธิวิทยา (ถ้ามี)
      6. หากผู้ป่วยเริ่มให้เคมีบำบัด/ ภูมิคุ้มกันบำบัด/ Targeted Therapy ควรมีรายงานสรุปแผนการบำบัด โดยระบุว่าเมื่อใดคือครั้งสุดท้ายและจำนวนรอบอย่างครบถ้วน (ถ้ามี)
  • ควรเตรียมคำถามที่ต้องการสอบถามแพทย์ชำนาญการไว้ล่วงหน้า
  • อาจพาสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนไปกับด้วยเพื่อช่วยถามคำถาม เก็บรวบรวมข้อมูลและช่วยในการตัดสินใจ

ในบางกรณีแพทย์อาจจำเป็นต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม หากข้อมูลการรักษาที่มีอยู่ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ

ทั้งนี้ควรประเมินถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละแนวทางการรักษา และควรปรึกษาพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนที่สามารถให้ความเห็นที่มีเหตุผล พิจารณาถึงความน่าเชื่อถือ, คุณสมบัติและประสบการณ์ของแพทย์, ความน่าเชื่อถือของสถานพยาบาล ท้ายสุดแล้วคุณเป็นผู้เลือกแนวทางการรักษากับที่คุณรู้สึกสบายใจมากที่สุด

เครื่องมือทางการแพทย์

  • Bronchoscopy
  • Chemotherapy
  • Colonoscopy
  • Colposcopy
  • Computerized Tomography Scan: 128-Slice CT Scan
  • Cryotherapy
  • Digital Mammogram
  • Endoscopic Retrograde Cholangio Pancreatography (ERCP)
  • Flexible Cystoscopy
  • Flexible Naso-laryngo-pharyngoscope
  • Fluoroscopy
  • FNA (Fine Needle Aspiration) and Liver Biopsy
  • Gastroscopy
  • Interventional Radiology
  • Laparoscopic Surgery
  • Low dose CT-chest
  • Magnetic Resonance Imaging: 1.5 Tesla MRI Scanner
  • Radio Frequency Ablation
  • Stereotactic Breast Biopsy
  • TOCE (Transcatheter Oily Chemo-Embolization)
  • Transrectal Ultrasound (TRUS) for Rectal and Prostate Cancer
  • Ultrasonography
  • Ultrasound
  • Ultrasound Guided core needle biopsy
  • Virtual Colonoscopy
  • X-ray Imaging

การบริการ

เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่ 08.00 – 16.00 น.

ติดต่อ

โทร: +66 7625 4425 ต่อ 3750 – 51 อีเมล: [email protected]

แพทย์แนะนำ